วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555





เรียบเรียงจากการเสวนาโต๊ะกลม ครั้งที่ 2/2551 ซึ่งจัดโดยฝ่ายวิชาการของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 ณ ตึกไชยยศสมบัติ 3 . โดยมีวิทยากร 4 ท่านร่วมเสวนา คือ รศ.ดร.พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ รุ่น 29 คุณจุฑา วิวรกิจ และคุณอำพล เรืองธุระกิจ จากรุ่น 36 คุณบรรณ เกษมทรัพย์ รุ่น 46
รศ.ดร. พักตร์ผจง ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการมีจริยธรรม และจรรยาบรรณโดยพันธะกิจของจุฬาฯนอกจากจะมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติและเหมาะสมกับสังคมแล้ว ยังมุ่งสร้างนิสิตให้เป็นบัณฑิตที่สามารถครองตนอย่างมีคุณธรรม และเป็นผู้นำสังคมให้เจริญก้าวหน้าและมีความสงบสุขได้ หรืออาจกล่าวสั้นๆว่า คุณธรรมนำความรู้ นั่นเอง
ความหมายของคำว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณ
จริยธรรม คือ ความสำนึก หรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม


จรรยาบรรณ คือ กระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพหรือสมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยึดถือ 

การมีจริยธรรม เริ่มจากการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่ยังไม่เพียงพอ ต้องปฎิบัติตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญาด้วย จริยธรรมและคุณธรรม คือบันไดที่เชื่อมไปสู่เป้าหมายของการเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
องค์กรต้องมีธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
  • ความโปร่งใส (Transparency)
  • ความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity)
  • ความรับผิดชอบ (Responsibility)
  • ความรับผิดชอบต่อผลงานในหน้าที่ (Accountability)
  • การมีหลักนิติธรรม (Rule of Law)
  • หลักคุณธรรม (Morality)
ธรรมาภิบาลของภาคเอกชน ( Good Corporate Governance) ต้องมี
  • มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders)
  • มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
  • มีความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
  • น้นการสร้างมูลค่าและผลตอบแทนระยะยาว
  • คำนึงถึงความซื่อสัตย์ ต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • คำนึงถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรม
  • ปรับปรุงกลไกการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ
จรรยาบรรณ ( Code of conduct ) คือ ข้อกำหนดอย่างเป็นทางการว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง และ เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึง
  • วัฒนธรรมเฉพาะในบริษัท ไม่ใช่เพียงแต่หลักจริยธรรมทั่วๆ ไป
  • ประเด็นธุรกิจที่มีความล่อแหลม อาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย สังคม การเมือง และอื่นๆ
  • ความเป็นไปได้ สะท้อนถึงสภาพต่างๆ ในบริษัท
  • แนวทางในการปฏิบัติต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วม ของกิจการทั้งหมดเป็นต้นว่า ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า คู่แข่งขัน เจ้าหนี้ และรัฐบาล
หากชาวจุฬาฯปฎิบัติตามจรรยาบรรณขององค์กร และในบทบาทของผู้บริหาร บริหารธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ก็ย่อมก่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับทุกคนได้



ดูเพิ่มเติม http://www.shicu.com/new_shicu/183.0.html

ความหมายของจริยธรรม




จริยธรรม (Ethics)
คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้

ดูเพิ่มเติม http://www.jariyatam.com/ethics-01