วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555





เรียบเรียงจากการเสวนาโต๊ะกลม ครั้งที่ 2/2551 ซึ่งจัดโดยฝ่ายวิชาการของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 ณ ตึกไชยยศสมบัติ 3 . โดยมีวิทยากร 4 ท่านร่วมเสวนา คือ รศ.ดร.พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ รุ่น 29 คุณจุฑา วิวรกิจ และคุณอำพล เรืองธุระกิจ จากรุ่น 36 คุณบรรณ เกษมทรัพย์ รุ่น 46
รศ.ดร. พักตร์ผจง ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการมีจริยธรรม และจรรยาบรรณโดยพันธะกิจของจุฬาฯนอกจากจะมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติและเหมาะสมกับสังคมแล้ว ยังมุ่งสร้างนิสิตให้เป็นบัณฑิตที่สามารถครองตนอย่างมีคุณธรรม และเป็นผู้นำสังคมให้เจริญก้าวหน้าและมีความสงบสุขได้ หรืออาจกล่าวสั้นๆว่า คุณธรรมนำความรู้ นั่นเอง
ความหมายของคำว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณ
จริยธรรม คือ ความสำนึก หรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม


จรรยาบรรณ คือ กระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพหรือสมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยึดถือ 

การมีจริยธรรม เริ่มจากการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่ยังไม่เพียงพอ ต้องปฎิบัติตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญาด้วย จริยธรรมและคุณธรรม คือบันไดที่เชื่อมไปสู่เป้าหมายของการเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
องค์กรต้องมีธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
  • ความโปร่งใส (Transparency)
  • ความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity)
  • ความรับผิดชอบ (Responsibility)
  • ความรับผิดชอบต่อผลงานในหน้าที่ (Accountability)
  • การมีหลักนิติธรรม (Rule of Law)
  • หลักคุณธรรม (Morality)
ธรรมาภิบาลของภาคเอกชน ( Good Corporate Governance) ต้องมี
  • มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders)
  • มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
  • มีความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
  • น้นการสร้างมูลค่าและผลตอบแทนระยะยาว
  • คำนึงถึงความซื่อสัตย์ ต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • คำนึงถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรม
  • ปรับปรุงกลไกการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ
จรรยาบรรณ ( Code of conduct ) คือ ข้อกำหนดอย่างเป็นทางการว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง และ เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึง
  • วัฒนธรรมเฉพาะในบริษัท ไม่ใช่เพียงแต่หลักจริยธรรมทั่วๆ ไป
  • ประเด็นธุรกิจที่มีความล่อแหลม อาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย สังคม การเมือง และอื่นๆ
  • ความเป็นไปได้ สะท้อนถึงสภาพต่างๆ ในบริษัท
  • แนวทางในการปฏิบัติต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วม ของกิจการทั้งหมดเป็นต้นว่า ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า คู่แข่งขัน เจ้าหนี้ และรัฐบาล
หากชาวจุฬาฯปฎิบัติตามจรรยาบรรณขององค์กร และในบทบาทของผู้บริหาร บริหารธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ก็ย่อมก่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับทุกคนได้



ดูเพิ่มเติม http://www.shicu.com/new_shicu/183.0.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น